ข่าว:

Exness ลงทะเบียนระบบใหม่ ใส่รหัสพาร์ทเนอร์ 73208
https://www.exness.com/boarding/sign-up/a/73208?lng=th
1. เลือกประเทศ ไทย
2. อีเมล์จริงของคุณ
3. รหัสผ่าน
* รหัสผ่านต้องมีความยาว 8-15 ตัว
* ใช้ทั้งอักษรตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก
* ใช้ทั้งตัวเลขและตัวอักษรภาษาอังกฤษ
* ห้ามใช้อักขระพิเศษ (!@#$%^&*., และอื่นๆ)
4. ใส่รหัสพาร์ทเนอร์ 73208

Main Menu

คำศัพท์การลงทุน อังกฤษ เป็น ไทย

เริ่มโดย junjao, มกราคม 06, 2023, 08:19:57 PM

« หน้าที่แล้ว - ต่อไป »

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

junjao

Bear Market ตลาดหมี หมายถึง ภาวะตลาดที่ดัชนีหลักทรัพย์และราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน และปริมาณการซื้อขายก็มีน้อย ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นไปในทาง

BoJ (Bank of Japan) ธนาคารกลางญี่ปุ่น

Bull Market ตลาดกระทิง หมายถึง ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหลักทรัพย์โดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก มีสภาพคล่องสูง ทิศทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศเป็นไปในทางที่ดี

Core CPI หรือ Core Inflation อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ที่หักสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงานออก เนื่องจากเป็นหมวดที่มีความเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และอยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เหลือแต่รายการสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด

Consumer Confidence Index ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เป็นดัชนีที่แสดงถึงทัศนคติของผู้บริโภคต่อตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายในอนาคต โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง หากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจในอนาคตยังคงมีแนวโน้มที่ดี ผู้บริโภคก็จะใช้จ่าย และลงทุนเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้เศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้นไปด้วย ในทางกลับกันหากผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่น กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคตก็จะลดลงตามไปด้วย
ดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค จะประกาศทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในภาคครัวเรือน

Consumer Price Index (CPI) ดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นตัวเลขทางสถิติที่ใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการที่ครอบครัวหรือผู้บริโภคซื้อหามาบริโภคเป็นประจำ ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับราคาในปีที่กำหนดไว้เป็นปีฐาน

Drawdown ระดับผลตอบแทนขาดทุนสะสม โดยวัดได้จากการลดลงของเงินทุนจากจุดสูงสุดในอดีต (Peak) ถึงจุดต่ำสุด (Trough) ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง

ECB (European Central Bank) ธนาคารกลางสหภาพยุโรป

Fed (The Federal Reserve) ธนาคารกลางสหรัฐฯ

FOMC (Federal Open Market Committee) คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ

Gross Domestic Product (GDP) มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ถูกผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ
ซึ่งคำนวณมาจาก GDP = C+I+G+(X-M) โดยแต่ละตัวแปรมีความหมายดังนี้
C = Consumption หรือการบริโภคของบริษัทและประชาชนทั่วไป
I = Investment หรือการลงทุนจากภาคเอกชนในการทำกิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจ
G = Government Spending หรือค่าใช้จ่ายของรัฐบาล/การลงทุนภาครัฐ
X - M = Export ลบด้วย Import คือจะต้องตัวเลขการส่งออกลบด้วยการนำเข้าถึงจะเห็นอัตราการบริโภคสุดท้ายที่แท้จริง

Hedging การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาหลักทรัพย์หรืออัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในอนาคต

ISM Manufacturing Index ดัชนีภาคอุตสาหกรรมโรงงาน เป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่ การผลิต การจ้างงาน สินค้าคงคลัง เวลาในการขนส่ง ราคา การส่งออกและการนำเข้า จัดทำโดยสถาบันการจัดการอุปทานของสหรัฐฯ (ISM) จะประกาศตัวเลขดังกล่าวทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า

Non-Farm Payrolls (NFP) การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่ประกาศทุกๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน ผ่านทางการรวบรวมตัวเลขทางสถิติการจ้างงานในภาคการบริการ ก่อสร้าง อุตสาหกรรม โดยไม่นับรวมไปถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐฯ

Personal Consumption Expenditure (PCE)  ดัชนีราคาจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล เป็นดัชนีราคาที่คำนวณจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (Personal Consumption Expenditures) ที่ประกาศโดย
Bureau of Economic Analysis  (BEA) ซึ่งเป็นเม็ดเงินจริงที่ผู้บริโภคใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ
ความแตกต่างระหว่าง CPI กับ PCE หลักๆ อยู่ที่ขอบข่ายของสินค้าและบริการที่ถูกนำมาคำนวณดัชนี และวิธีการถ่วงน้ำหนักสินค้าและบริการแต่ละประเภท

Producer Price Index (PPI) ดัชนีราคาผู้ผลิต เป็นดัชนีราคาที่คํานวณขึ้นเพื่อใช้วัดการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยเฉลี่ยที่ผู้ผลิตได้รับช่วงเวลาหนึ่ง เปรียบเทียบกับช่วงเวลา ณ ปีฐาน หรือก็คือใช้วัดแรงกดดันเงินเฟ้อที่มาจากฝั่งผู้ผลิต ทั้งนี้ PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่าเพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย

Purchasing Managers Index (PMI) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เป็นดัชนีสะท้อนถึงภาวะการณ์การขยายตัวหรือหดตัวของภาพรวมของภาคการผลิตและบริการ (Manufacturing PMI และ Service PMI) โดยการสำรวจผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในบริษัทเอกชนเกี่ยวกับ ยอดสั่งซื้อใหม่ ปริมาณสินค้าคงคลัง สายการผลิต การส่งสินค้าซัพพลาย และการจ้างงาน เป็นต้น โดยปัจจุบันมี 2 สถาบันหลักที่จัดทำดัชนี PMI โดยในสหรัฐฯ จัดทำโดย ISM (Institute for Supply Management) ขณะที่กว่า 30 ประเทศทั่วโลกจัดทำโดย IHS Markit Ltd ส่วนประเทศจีนมีการจัดทำจากทั้งภาครัฐ และเอกชนโดยสถาบัน Caixin (Caixin Media Company Ltd)

Quantitative Easing (QE) มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ เป็น รูปแบบหนึ่งของ "นโยบายทางการเงิน" รับผิดชอบโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ โดยใช้รับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ วิธีการก็คือ ธนาคารกลางจะเข้าไปซื้อ "สินทรัพย์ทางการเงิน" ในปริมาณมหาศาล โดยทั่วไปจะเป็นการซื้อสินทรัพย์ทางการเงินที่สถาบันการเงินต่างๆ ได้ฝากไว้กับธนาคารกลาง มักเป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ชนิดต่างๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, หุ้นกู้ของบริษัทใหญ่ๆ เป็นต้น เมื่อธนาคารกลางรับซื้อสินทรัพย์ทางการเงินของธนาคารเอกชน ก็จะทำให้สินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวนั้นเปลี่ยนสภาพเป็น "เงินสด" ซึ่งหมายถึงธนาคารเอกชนก็จะมีเงินสดเตรียมไว้ปล่อยสินเชื่อให้นักธุรกิจได้ทันที จึงทำให้มาตร QE มีลักษณะเหมือนการ "อัดฉีด" หรือ "แจกเงินสด" นั่นเอง

ที่มา https://www.krungsri.com/th/personal/mutual-fund/knowledge/glossary/
MT4 MT5 EA Indicator EURUSD USDJPY XAUUSD Gold Bitcoin Oil
สอบถาม 081-446-5311 , line : junjaocom , Email : jun_jao2000@hotmail.com
สมัคร Exness ได้ที่ https://www.exness.com/a/73208
หน้าลงทะเบียน Exness ได้ที่ https://www.exness.com/boarding/sign-up/a/73208?lng=th
ขั้นตอนสมัคร exness https://www.junjao.com/board/index.php?topic=279

x [close]
x [close]